1. มะเร็งเต้านม
“มะเร็งเต้านม” เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 1 ของผู้หญิงทั่วโลกและในปัจจุบันผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมสูงเป็นอันดับ 1 มากกว่ามะเร็งปากมดลูกโดยพบประมาณ 30 ราย ต่อประชากร 100,000 ราย และเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตมากถึงร้อยละ 37 จากมะเร็งทั้งหมด มะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น จะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ แต่สามารถตรวจพบได้จากการทำแมมโมแกรม (Mammography) หรืออัลตราซาวด์ (Ultrasound)
มะเร็งเต้านม มีอาการอย่างไร?
- คลำเจอก้อนในเต้านม
- มีของเหลวออกจากบริเวณหัวนม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นเลือดจะเพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งยิ่งขึ้น
- มีความผิดปกติของผิวหนังบริเวณเต้านม โดยผิวหนังมีลักษณะคล้ายผิวส้ม หรือมีรอยบุ๋มที่ผิวหนัง หรือเต้านมผิดรูปร่างไปจากเดิม
- ความผิดปกติของหัวนม เช่น เป็นแผลที่หัวนม และเจ็บเต้านม (ก้อนมะเร็งส่วนใหญ่มักไม่เจ็บ) เป็นต้น
2. มะเร็งปากมดลูก
“มะเร็งปากมดลูก” อีกหนึ่งมะเร็งยอดฮิตที่พบในผู้หญิงมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม เฉลี่ยแล้วผู้หญิงไทยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูก 12 คนต่อวัน ซึ่ง 80% ของผู้หญิงที่เป็นเร็งปากมดลูกอยู่ในช่วงอายุ 30-60 ปี โดยในประเทศไทยพบผู้ป่วยรายใหม่ปีละประมาณกว่า 8,000 คน โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะไม่แสดงอาการจนกว่าโรคจะพัฒนาจนร้ายแรง
มะเร็งปากมดลูก เกิดได้จากสาเหตุใดบ้าง?
- สาเหตุหลักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV : Human Papillomavirus) เชื้อไวรัสที่แพร่กระจายได้ง่ายผ่านการสัมผัสกับเชื้อโดยตรง หรือการมีเพศสัมพันธ์
- เพศสัมพันธ์ พบว่าผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์เร็ว มีคู่เพศสัมพันธ์หลายคน จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกค่อนข้างสูง
- มีประวัติการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคติดเชื้อคลามีเดีย โรคหนองใน โรคซิฟิลิส และโรคติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์
- มีประวัติในครอบครัว เช่น มีญาติผู้หญิงเป็นมะเร็งปากมดลูก
- พฤติกรรมอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่
โดยอาการแสดงเริ่มต้นของมะเร็งปากมดลูก คือ ระดูขาวมากผิดปกติ เลือดออกขณะหรือหลังมีเพศสัมพันธ์ และภายหลังมีเพศสัมพันธ์ แต่ในบางรายก็อาจไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น ฉะนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร่วมกับตรวจหาเชื้อไวรัส HPV DNA Test เป็นการป้องกันความเสี่ยงที่ดีที่สุด
3. มะเร็งตับ
“โรคมะเร็งตับ” นอกจากจะเป็นมะเร็งยอดฮิตที่พบในชายไทยมากเป็นที่สุดเป็นอับดับ 1 แล้วมะเร็งชนิดนี้นี้พบในผู้หญิงอีกด้วย ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งตับโดยทั่วไปมักไม่มีอาการในระยะแรก จึงไม่ทันได้ระวังและปล่อยให้โรคดำเนินพัฒนาจนถึงระยะกลางและระยะสุดท้าย การเข้าพบแพทย์เฉพาะทาง ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอย่างทันท่วงที โดยสาเหตุปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งตับมีดังนี้
- เชื้อไวรัสตับอักเสบบี และซี – ผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับมากกว่าคนปกติ
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือบริโภคในปริมาณที่เยอะจนเกินไป
- ตับแข็ง – ภาวะตับแข็งจากทุกสาเหตุไม่ว่าจะจากแอลกอฮอล์หรือไวรัสตับอักเสบ
- สารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxins) – สารนี้ก่อให้เกิดเชื้อรา อยู่ในอาหารประเภทถั่วลิสงแห้ง พริกแห้ง เต้าหู้ยี้ ฯลฯ หากร่างกายได้รับมากเกินไปอาจะเกิดการตกค้างได้
- ผู้ที่เป็นเบาหวาน โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง และไขมันพอกตับ มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะนำไปสู่โรคมะเร็งตับ